หลักสูตรที่เปิดสอน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน 2 หลักสูตร คือ

1. หลักสูตรภาคปกติ

คือ หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ รู้จักแสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นการสอนด้วยวิธีการสอนใหม่ๆ โดยใช้กิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการสอนทางด้านภาษาทั้ง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งทางโรงเรียนให้นักเรียนได้เรียนกับชาวต่างชาติเจ้าของภาษาโดยตรง

มุ่งให้นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย ปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ไขปัญหาและกล้าแสดงออกตามแนวทางประชาธิปไตย ทั้งนี้ทางโรงเรียนจะพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม กับสภาพและความต้องการของนักเรียน โดยทางโรงเรียนได้เปิดสอน 2 ระดับ ดังนี้

ระดับปฐมวัย นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – 3

ระดับประถมศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6

2. โครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ

คือ หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำในสังคม เรียนรู้อย่างมีความสุข คิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ มีความเป็นสากล ภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย โดยเปิดสอน 2 ระดับ ดังนี้

ระดับปฐมวัย นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – 3

ระดับประถมศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6

โครงสร้างหลักสูตร

1. โครงสร้างหลักสูตรภาคปกติ

โครงสร้างหลักสูตรระดับปฐมวัย

หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบบูรณาการ (Integration) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวธรรมชาติ ทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งได้จัดเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อย ดังนี้

หน่วยการเรียนการสอน

ทางโรงเรียนจัดหน่วยการเรียนการสอน โดยเน้นมวลประสบการณ์เรียงลำดับเนื้อหาจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย และความสนใจของผู้เรียน ดังนี้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  : ตัวเรา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  : ธรรมชาติรอบตัว

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  : โลก

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  : เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ในแต่ละหน่วยการเรียนการสอนจะเรียนประมาณ 2 สัปดาห์ ในแต่เละหน่วยการเรียนการสอนสามารถ ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

โครงสร้างหลักสูตรระดับประถมศึกษา

หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความสามารถของตนเอง และพัฒนาความสามารถของตนเอง ได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยในช่วงชั้นที่ 1(ป.1–3) ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาทั้ง 8 กลุ่มสาระตามที่โรงเรียนกำหนด เพื่อตรวจสอบความสนใจและความถนัดของตนเอง ในช่วงชั้นที่ 2 (ป. 4 – 6) ผู้เรียนจะได้เลือกเรียนในวิชาที่ตนเองถนัดและสนใจเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากเนื้อหาที่โรงเรียนกำหนดให้ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของตนเองตามตารางโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

ช่วงชั้น / สาระการเรียนรู้

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3)

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6)

ป. 1

ป. 2

ป. 3

ป. 4

ป. 5

ป. 6

ภ.1

ภ.2

ภ.1

ภ.2

ภ.1

ภ.2

ภ.1

ภ.2

ภ.1

ภ.2

ภ.1

ภ.2

วิชาพื้นฐาน (คาบ : สัปดาห์)

1. ภาษาไทย

6

6

6

6

6

6

5

5

4

4

4

4

2. คณิตศาสตร์

6

6

6

6

5

5

5

5

5

5

5

5

3. วิทยาศาสตร์

2

2

2

2

3

3

3

3

3

3

3

3

4. สังคมศึกษาฯ

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

5. ประวัติศาสตร์

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

6. สุขศึกษา

และพลศึกษา

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

7. ศิลปะ

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

8. การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

9. ภาษาอังกฤษ

4

4

4

4

4

4

4

4

5

5

5

5

รวมรายวิชา
พื้นฐาน

27

27

27

27

27

27

26

26

26

26

26

26

วิชาเพิ่มเติม (คาบ : สัปดาห์)

วิชาซ่อมเสริมพัฒนาการ

1

1

1

1

1

1

วิชาเพิ่มเติม 8

กลุ่มสาระ

2

2

2

2

2

2

รวมรายวิชา
เพิ่มเติม

1

1

1

1

1

1

2

2

2

2

2

2

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (คาบ : สัปดาห์)

– กิจกรรมพัฒนาตน

1

1

1

1

1

1

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

– การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

1

1

1

1

– กิจกรรมลูกเสือ/

เนตรนารี

1

1

1

1

1

1

1

1

– กิจกรรมชมรม

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

– กิจกรรมโฮมรูม

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

รวมรายกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4

รวมเวลาเรียน
(คาบ / สัปดาห์)

32

32

32

32

32

32

32

32

32

32

32

32

กิจกรรมเพื่อสังคมและ
สาธารณประโยชน์

ตลอดปีการศึกษาจำนวน 10 ชั่วโมง

รวมเวลาเรียน ทุกวิชาตลอดปี

ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมง : ปี


2. โครงสร้างหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ

โครงการภาคภาษาอังกฤษ ทั้งระดับปฐมวัยและประถมศึกษาสัดส่วนของกิจกรรม การเรียนการสอน จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 80 % และเรียนเป็นภาษาไทย 20 %

– หลักสูตรระดับปฐมวัย มุ่งส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ด้วยการบูรณาการเนื้อหาวิชา มาจัดเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองความสนใจของผู้เรียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนระดับต่อไป

– หลักสูตรระดับประถมศึกษา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ในการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพด้วยการบูรณาการเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อันเป็นสากลควบคู่กับสังคมและวัฒนธรรมไทย

ระดับปฐมวัย

First term

Self

⁃introduction

⁃Health and My body

⁃My 5 Senses and feelings

⁃My family and home

⁃My community and occupations

Nature

⁃Plants, trees, flowers and insects

⁃Fruit and vegetables

⁃Farm animals and Pets/ Habitats

⁃Wild animals/ Habitats

⁃Water cycle, river and oceans

⁃Weather and seasons

⁃Sea life

⁃Review

Second term

The world

⁃Counties, continents and culture

⁃Pre-historic time (dinosaur)

⁃Early civilization (people)

⁃Day and night

⁃Space and Solar system

Technology and Innovation

⁃Transport (land, air, water, forces and motion, friction, float, and sink)

⁃Tools and Machines

⁃Media (newspaper, magazines, internet, video, computer, smart phone, tablet)

⁃Energy (solar, wind, fossil, gas, electric)

⁃Pollution (air/water pollution, water saving, energy saving methods)

⁃Economics (want & needs, expenses value of money in relation to items)

⁃Review

ระดับประถมศึกษา
( Curriculum Structure for Elementary Level )
The Elementary-level Curriculum for this school is based on experiential learning. The target is to make children aware of their own personal abilities, and to develop these abilities to the fullest. In the lower elementary levels, students will learn to identify their own strengths and weaknesses while studying thirteen subjects each year. This Knowledge will help students make appropriate choices for themselves when they graduate to the upper elementary levels. The subjects and their hours per week are listed in the chart below for each grade.

Subject

P.1

P.2

P.3

P.4

P.5

P.6

T.1

T.2

T.1

T.2

T.1

T.2

T.1

T.2

T.1

T.2

T.1

T.2

1. English

5

5

4

4

4

4

3

3

3

3

3

3

2. Thai Language

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

5

3. Math

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4

4. Science

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

5. Social Studies

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

6. History

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

7. Computer

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

8. Physical Education

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

9. Art

7

7

6

6

5

5

5

5

5

5

5

5

10. Chinese

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

Elective

1

1

1

1

1

1

Development

activity

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

Boy Scouts

1

1

1

1

1

1

1

1

Homeroom

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

2

Total

Lessons / Week

32

32

32

32

32

32

32

32

32

32

32

32

Social activities

10 hours : year

Total (year)

1,000 hours : year

การวัดและประเมินผล

การวัดประเมินผลระดับปฐมวัย

โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากพัฒนาการของเด็กอนุบาลในแต่ละระดับชั้นโดยการประเมินเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องจากการทำกิจกรรม และกิจวัตรประจำวัน ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เอื้อต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาเต็มศักยภาพอย่างเหมาะสม

การจัดการประเมินการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้มีรูปแบบประเมินที่หลากหลาย เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มี ความถนัด และความเข้าใจที่แตกต่างกันไป การประเมินผลจึงต้องอาศัยแหล่งข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ ที่หลากหลาย มาสะท้อนภาพที่เป็นจริง และมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข หรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ดีขึ้นเพื่อเป็นการเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กในระดับต่อไป

วิธีการประเมิน จะประเมินตามสภาพจริงของเด็กโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ การเก็บ รวบรวมผลงานที่นักเรียนแสดงออก เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กในระดับต่อไป โดยมีวิธีการประเมินผลดังนี้

การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก โดยครูเป็นผู้สังเกตขณะเด็กทำกิจกรรม

การบันทึกพฤติกรรมของเด็กโดยการสัมภาษณ์

สานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนโดยผ่านสมุดรายงานพฤติกรรม

สอบถามพฤติกรรมเด็กจากผู้ปกครองในวันนัดประเมินพัฒนาการ

การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก

การสนทนาโต้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม

การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนการใช้แบบทบทวนเนื้อหาตามหน่วยการเรียนการสอน

การรวบรวมผลงานในรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงาน

การวัดและประเมินผล

การวัดประเมินผลระดับประถมศึกษา

-โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาพร้อมทั้งดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐาน 2 ประการ ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอน โดยการบันทึก วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล แล้วนำผลมาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสอน ของครูโดยใช้วิธีการและเครื่องมือการประเมินที่หลากหลาย เช่น สังเกตพัฒนาการและความประพฤติของผู้เรียนสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม การประเมินตามสภาพจริง หรือแฟ้มสะสมงาน ควบคู่ไปกับการใช้การทดสอบแบบต่าง ๆ และการใช้เกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลายตามธรรมชาติของแต่ละวิชาของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประเมินเพื่อพัฒนาคือ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในลักษณะคำแนะนำที่เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ทำให้การเรียนรู้พอกพูน แก้ไขความคิด ความเข้าใจเดิมที่ไม่ถูก ตลอดจนการให้ผู้เรียนสามารถตั้งเป้าหมายและพัฒนาตนได้

-จุดมุ่งหมายประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียนเป็นการประเมิน
สรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนจบรายวิชาเพื่อตัดสินให้คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียนซึ่งในการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนโดยให้โอกาสผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถด้วยวิธีการที่หลากหลาย และพิจารณาตัดสินผลการปฏิบัติบนพื้นฐานของเกณฑ์

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

-โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา ได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาพร้อมทั้งการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดที่กำหนดในสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ มีความสามารถด้านการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้

1. การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

-การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เป็นการประเมินความรู้
ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และทักษะการคิดที่กำหนดอยู่ในตัวชี้วัดในหลักสูตร โดยผู้สอนดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชาพื้นฐาน และตามกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติมตามที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความรู้ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน พร้อมทั้งวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

-ในส่วนของการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
รามคำแหง วิทยาเขตบางนา ได้กำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนกับคะแนนรายภาค/ปี ดังนี้

ลำดับ

วิชา

ภาคเรียนที่ 1

ภาคเรียนที่ 2

ปลายปี

ระหว่าง

ปลาย

คะแนน

ระหว่าง

ปลาย

คะแนน

ระหว่าง

ปลาย

คะแนน

เรียน

ภาค

รวม

เรียน

ภาค

รวม

เรียน

ภาค

รวม

1

ภาษาไทย

35

15

50

35

15

50

70

30

100

2

คณิตศาสตร์

35

15

50

35

15

50

70

30

100

3

วิทยาศาสตร์

35

15

50

35

15

50

70

30

100

4

สังคมศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรม

35

15

50

35

15

50

70

30

100

5

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

10

50

40

10

50

80

20

100

6

ศิลปะ

40

10

50

40

10

50

80

20

100

7

การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี

40

10

50

40

10

50

80

20

100

8

ภาษาต่างประเทศ

35

15

50

35

15

50

70

30

100

เกณฑ์การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียน ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
-นักเรียนต้องได้เรียนครบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียน
ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยได้รับรายงานผลการเรียนเป็น 8 ระดับ ดังนี้

1. ระดับผลการเรียน 4 หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม (คะแนน 80-100
2. ระดับผลการเรียน 3.5 หมายถึง ผลการเรียนดีมาก (คะแนน 75-79)
3. ระดับผลการเรียน 3 หมายถึง ผลการเรียนดี (คะแนน 70-74)
4. ระดับผลการเรียน 2.5 หมายถึง ผลการเรียนค่อนข้างดี (คะแนน 65-69)
5. ระดับผลการเรียน 2 หมายถึง ผลการเรียนปานกลาง (คะแนน 60-64)
6. ระดับผลการเรียน 1.5 หมายถึง ผลการเรียนพอใช้ (คะแนน 55-59)
7. ระดับผลการเรียน 1 หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ (คะแนน 50-45)
8. ระดับผลการเรียน 0 หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ (คะแนน 0-49)

กรณีนักเรียนได้รับการตัดสินผลการเรียนเป็น “ 0 หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ต้องแก้ไข ”นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริม และประเมินตามที่โรงเรียนกำหนดแล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการเรียนเป็น “ 1 หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ”

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียน ในการอ่านจากหนังสือ ตำราเรียน เอกสารและสื่อต่างๆ เพื่อหาความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์ เพื่อความสุนทรีย์และประยุกต์ใช้แล้วสามารถนำเนื้อหาสาระที่อ่านมาคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแสดงความคิดเห็นการสังเคราะห์ การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดด้วยการเขียนที่มีสำนวนภาษาถูกต้องมีเหตุผล และลำดับขั้นตอนในการนำเสนอสามารถสร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในระดับชั้นประถมศึกษาซึ่งได้กำหนดขอบเขตการประเมินและตัวชี้วัดที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนดังนี้

-ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้น ป.1 – ป.3

1. สามารถอ่านและหาประสบการณ์จากสื่อที่หลากหลาย
2. สามารถจับประเด็นสำคัญ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเรื่องที่อ่าน
3. สามารถเปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ เช่น ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ โทษ ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม
4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่าน โดยมีเหตุผลประกอบ
5. สามารถอ่านถ่ายทอดความคิดเห็นความรู้สึกจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

-ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้น ป.4 – ป.6

1. สามารถอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศเสริมประสบการณ์จากสื่อประเภทต่างๆ
2. สามารถจับประเด็นสำคัญ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลจากเรื่องที่อ่าน
3. สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเรื่องราว เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน
4. สามารถแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านโดยมีเหตุผลสนับสนุน
5 สามารถอ่านทอดความเข้าใจ ความคิดเห็น คุณค่าจากเรื่องที่อ่านโดยการเขียน

-นักเรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โดยมีเกณฑ์การประเมินเป็น 4 ระดับดังนี้

1. ระดับผลการประเมิน 3 หมายถึง ดีเยี่ยม

(มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ)

2. ระดับผลการประเมิน 2 หมายถึง ดี

(มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ)

3. ระดับผลการประเมิน 1 หมายถึง ผ่าน

(มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่
ยอมรับแต่ยังมีข้อบกพร่องบางประการ)

4. ระดับผลการประเมิน 0 หมายถึง ไม่ผ่าน

(ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีผลงาน
ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ)
กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น “ 0 หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินตามที่โรงเรียนกำหนดแล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น “ 1 หมายถึง ผ่านการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ”

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

-การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ซึ่งการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ประกอบด้วย 10 คุณลักษณะ ดังนี้

รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ซื่อสัตย์ สุจริต

มีวินัย

ใฝ่เรียนรู้

อยู่อย่างพอเพียง

มุ่งมั่นในการทำงาน

รักความเป็นไทย

มีจิตสาธารณะ

มีคุณธรรม

ชี้นำสังคม

นักเรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีเกณฑ์การประเมินเป็น 4 ระดับ ดังนี้

1. ระดับผลการประเมิน 3 หมายถึง ดีเยี่ยม
(ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม)
2. ระดับผลการประเมิน 2 หมายถึง ดี
(ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของสังคม)
3. ระดับผลการประเมิน 1 หมายถึง ผ่าน
(ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่โรงเรียนกำหนด)
4. ระดับผลการประเมิน 0 หมายถึง ไม่ผ่าน
(ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่โรงเรียนกำหนด)
กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น “ 0 หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินตามที่โรงเรียนกำหนด แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น “ 1 หมายถึง ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ”

การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

-การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้สำหรับนักเรียนทุกคน
ภาคเรียนละ 2 กิจกรรม คือกิจกรรมพัฒนาตน และกิจกรรมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมพัฒนาความสามารถของตนเองตามความถนัด ความสนใจให้เต็มศักยภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม สร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรมมีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมและสามารถบริหารจัดการตนเองได้เมื่อผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยจะได้รับการประเมินเพื่อผ่านเกณฑ์ การพิจารณา2 เกณฑ์ ดังนี้

– เกณฑ์การผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
– เกณฑ์เวลาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด

เกณฑ์การตัดสินผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้

1. ระดับผลการประเมิน “ผ” หมายถึง ผ่าน เมื่อมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 เกณฑ์
2. ระดับผลการประเมิน “มผ” หมายถึง ไม่ผ่าน เมื่อมีผลการประเมินผ่านไม่ครบทั้ง 2 เกณฑ์

-กรณีนักเรียนได้รับผลการประเมินเป็น “ มผ หมายถึง ไม่ผ่าน ” นักเรียนต้องเข้ารับการซ่อมเสริมและประเมินตามที่โรงเรียนกำหนด แล้วจะได้รับการเปลี่ยนระดับผลการประเมินให้เป็น “ ผ หมายถึง ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ”

kadıköy tabelacı
trafo izolasyon malzemeleri

oto çekici

realpornhero.com

Adult porn video
repornx.com
pornags.com
pornkro
http://pornaph.com
lesbian xxx
hd sex
xvideos sex watch